วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

   เมื่อเอ่ยถึงแม่แล้ว แน่นอนว่าลูกทุกคนจะต้องนึกถึงผู้หญิงที่ตัวเองรัก ผู้ซึ่งคอยประคับประคองเลี้ยงดูให้เราเติบโตมาเป็นเราได้ทุกวันนี้อย่างแน่นอน ซึ่งถึงแม้ว่าหลายครั้งนิยามความรักของเราที่มีต่อแม่จะไม่อาจเอื้อนเอ่ยออกมาได้ แต่ก็ยังมีนักคิดนักเขียนหลาย ๆ คนพยายามนิยามความรักของแม่ออกมาตามความคิดและมุมมองของตัวเอง และวันนี้กระปุกดอทคอมก็เลยขอหยิบยกนิยามและคำคมเกี่ยวกับแม่มาฝาก ไปดูกันว่านักคิดนักเขียนทั้งหลายเขามีความคิดความรู้สึกต่อแม่อย่างไรกันบ้าง

  อ้อมกอดของแม่ คือที่ซับน้ำตาที่ดีที่สุด
รักของแม่เป็นเหมือนเชื้อเพลิงเติมพลัง ทำให้คนธรรมดาทำในสิ่งที่ไม่ธรรมดาได้ก่อนลูกจะคลอดแม่คิดถึงลูก ก่อนลูกจะเกิดแม่รักลูก 
ก่อนลูกจะมาอยู่ในอ้อมกอดแม่ แม่ก็รู้สึกว่าแม่สละชีวิตเพื่อลูกได้ มันเป็นความรักที่ปาฏิหาริย์จริง ๆ
เมื่อคุณกลายเป็นแม่ คุณต้องคิดอะไร ๆ ถึงสองครั้ง 
ครั้งหนึ่งเพื่อตัวคุณเอง ส่วนอีกครั้งก็เพื่อลูกของคุณ


ความรู้เกี่ยวกับครามรัก
ความรัก เป็นอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับความเสน่หาและความผูกพันทางอารมณ์อย่างแรงกล้า[1]ในบริบททางปรัชญา ความรักเป็นคุณธรรมแสดงออกซึ่งความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความเสน่หาทั้งหมดของมนุษย์ ความรักเป็นศูนย์กลางของศาสนาหลายศาสนา อย่างเช่นในวลี "พระเจ้าเป็นความรัก" ของศาสนาคริสต์ หรืออากาเปในสังฆวรสาร[2] ความรักยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นพฤติกรรมต่อตนเองหรือผู้อื่นซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจ หรือความเสน่หา[3]
คำว่ารักสามารถหมายความถึงความรู้สึก สภาพทางอารมณ์และทัศนะที่แตกต่างกันได้หลากหลาย ซึ่งอาจมีตั้งแต่ความพอใจทั่วไปจนถึงความดึงดูดระหว่างบุคคลอย่างรุนแรง แต่โดยเจาะจงแล้ว ความรักสามารถหมายถึงความต้องการอย่างเสน่หาและความสัมพันธ์ทางเพศของความรักแบบโรแมนติก ความรักที่มีเพศเข้ามาเกี่ยวข้องของอีรอส (คำภาษากรีกหมายถึงความรัก) ความใกล้ชิดทางอารมณ์ของความรักกับบุคคลในครอบครัว หรือรักบริสุทธิ์ที่นิยามมิตรภาพ[4] หรือความรักแบบอุทิศตัวแบบในทางศาสนา[5] ความหลากหลายของการใช้และความหมายของคำว่ารักนี้ ประกอบกับความรู้สึกอันซับซ้อนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เป็นการยากที่จะนิยามความรักให้แน่นอน แม้จะเทียบกับสภาพอารมณ์อื่น ๆ แล้วก็ตาม
วิทยาศาสตร์นิยามว่าสิ่งที่เข้าใจได้ว่าเป็นความรักนั้นเป็นสภาพที่มาจากวิวัฒนาการของสัญชาตญาณการเอาตัวรอด โดยพื้นฐานแล้วเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามและเพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของสายพันธุ์ผ่านการสืบพันธุ์
ครู คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน
คำว่า "ครู" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "คุรุ" และภาษาบาลี "ครุ, คุรุ"

ครูในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา[แก้]

ครูประจำชั้น[แก้]

ครูประจำชั้น หมายถึง ครูผู้ดูแลนักเรียนในห้องเรียนหรือชั้นเรียนหนึ่ง ๆ เป็นเวลาหนึ่งภาคเรียนหรือหนึ่งปีการศึกษา พร้อมทั้งทำหน้าที่ธุรการประจำห้องเรียน
ในอดีตความสัมพันธ์ของครูประจำชั้นจะเปรียบเสมือนผู้ปกครองคนที่สอง ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ อบรมสั่งสอน ช่วยแก้ปัญหา และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับบ้าน อันเป็นผลทำให้ครูและโรงเรียนได้รับความศรัทธาพร้อมทั้งมีบุญคุณต่อนักเรียนและครอบครัว
ระบบการศึกษาส่วนใหญ่ในโรงเรียนทั่วโลกมีการนักเรียนออกเป็นชั้น ๆ เป็นห้อง ๆ เพื่อความสะดวกต่อการเรียนการสอน และการดูแลปกครอง รวมทั้งทำกิจกรรมอื่น ๆ โดยเรียกเรียกว่า "ห้องเรียน" หรือ "ชั้นเรียน" (Classroom) และเรียกเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกันว่า "เพื่อนร่วมชั้น" (Classmates)

ครูในระดับอุดมศึกษา[แก้]

ครูขณะทำการสอน
ผู้สอนในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือระดับอุดมศึกษา จะมีตำแหน่ง อาจารย์ โดยอาจารย์ที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ อาจารย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ตามลำดับ การได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
ตำแหน่งครู คือบุคคลที่ทำหน้าที่ช่วยสอน สอนทบทวน สอนภาคปฏิบัติ แตกต่างจากอาจารย์ที่ สอนภาคบรรยายเรื่องต่าง ๆ

ครูผู้ดูแลระบบจัดการโรงเรียน[แก้]

ครูที่ทำหน้าที่ดูแลระบบทั้งโรงเรียนจะเรียกว่า ครูใหญ่ ซึ่งคล้ายคลึงกับคณบดี หรืออธิการบดี ในระดับอุดมศึกษา โดยหน้าที่ของครูใหญ่มักจะทำหน้าที่ดูแลระบบการจัดการของโรงเรียนมากกว่าการสอนในห้องเรียน ต่อมาเป็นตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ทำหน้าที่บริหารสถานศึกษา

ครูในศตวรรษที่ 21[แก้]

การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยโครงงาน
ในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ กระบวนการเรียนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก [1] ผู้เรียนจะเรียนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยมีความก้าวหน้า และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากและรวดเร็วขึ้น ปัญหาที่สืบเนื่องมาจากจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นต่อห้องเรียน[2] จนทำให้วิธีการสอนแบบเดิมๆ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ สื่อที่แสดงมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอสำหรับ ผู้เรียนที่อยู่หลังห้อง ความจดจ่อกับผู้สอนถูกเบี่ยงเบนจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนขนาดใหญ่ ผู้เรียนมีการนำเอาคอมพิวเตอร์พกพาเข้ามาสืบค้นความรู้ในชั้นเรียน ผู้เรียนถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ครูกำลังสอน หรือนำข้อมูลเหล่านั้นมาพูดคุย โดยที่ครูตอบไม่ได้ หรือไม่เคยรู้มาก่อน
เมื่อเป็นเช่นนนี้ ครูจึงต้องพร้อมที่จะปรับตัวและพัฒนาตนเองให้ทันยุคที่เปลี่ยนไป และต้องไม่ขาดความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาทักษะและวิทยาการให้ทันสมัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เทคนิควิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ได้เด็กมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สังคมไทยและสังคมโลกต้องการ
ในการนี้ กระทรวงศึกษาธิการ[3] ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology :ICT) มาใช้ในการศึกษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและการพัฒนาครูได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครู ตลอดจนลดความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาในโรงเรียนที่ห่างไกลอีกด้วย

ครูในอนาคต[แก้]

เมื่อหน้าที่และบทบาทของครูผู้สอนได้เปลี่ยนจากการบรรยายหน้าชั้นเรียนเพียงอย่างเดียวมาเป็นการกล่าวนำเข้าสู่บทเรียน ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้แนะนำ ให้คำปรึกษา และแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียน จึงเกิดวิธีการสอนที่หลากหลายมากขึ้น[4] กล่าวคือ มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน โดยผ่านเครือข่าย (Network) เพราะปัจจุบันผู้เรียนมีความสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจระหว่างผู้เรียนและผู้สอนได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในชั้นเรียนเสมอไป รูปแบบการเรียนการสอนจึงเป็นแบบส่วนบุคคลมากขึ้น ซึ่งรูปแบบนี้ครูคนเดียวสามารถแนะนำ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยววิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นๆ ได้ ซึ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารมากยิ่งขึ้นตลอดจนมีบทบาทต่อระบบการศึกษาทั้งในและนอกระบบในการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง [5] ได้เสนอทักษะที่จำเป็นสำหรับครูไทยในอนาคต (C-Teacher) ไว้น่าสนใจ 8 ประการคือ
  1. Content ครูต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี หากไม่แม่นในเรื่องที่สอนหรือถ่ายทอดแล้ว ก็ยากที่นักเรียนจะมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ
  2. Computer (ICT) Integration ครูต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีจะช่วยกระตุ้นความสนใจให้กับนักเรียน และหากออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยส่งเสริมความรู้และทักษะที่ต้องการได้เป็นอย่างดี
  3. Constructionist ครูผู้สอนต้องเข้าใจแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นเองได้จากภายในตัวของผู้เรียนเอง โดยเชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีอยู่ภายในเข้ากับการได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งครูสามารถนำแนวคิดนี้ไปพัฒนาวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และทักษะที่ต้องการได้
  4. Connectivity ครูต้องสามารถจัดกิจกรรมให้เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ผู้เรียนกับครู ครูภายในสถานศึกษาเดียวกันหรือต่างสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษา และสถานศึกษากับชุมชน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรงให้กับนักเรียน
  5. Collaboration ครูมีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้แบบร่วมมือกันระหว่างนักเรียนกับครู และนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน เพื่อฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ด้วยตนเอง และทักษะที่สำคัญอื่น ๆ
  6. Communication ครูต้องมีทักษะการสื่อสาร ทั้งการบรรยาย การยกตัวอย่าง การเลือกใช้สื่อ การนำเสนอสื่อ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างเหมาะสม
  7. Creativity ในยุคสมัยหน้าครูต้องออกแบบสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ จัดสภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน มากกว่าการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรงเพียงอย่างเดียว
  8. Caring ครูต้องมีมุทิตาจิตต่อนักเรียน ต้องแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใยอย่างจริงใจต่อนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดความเชื่อใจ ส่งผลให้เกิดสภาพการเรียนรู้ตื่นตัวแบบผ่อนคลาย ซึ่งเป็นสภาพที่นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด

แนวทางการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21[แก้]

เนื่องจากรูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะที่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่มาช่วยในการเรียนการสอน ดังนั้นครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีทักษะด้าน ICT เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ จัดการทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้กับผู้เรียนในรูปแบบดิจิตัล [6] นอกจากนี้ครูควรสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียน
ปัจจุบัน มีแนวทางการดำเนินการพัฒนา ICT เพื่อการศึกษา[7] ดังนี้
  1. การจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอนของสถานศึกษา ทั้งคอมพิวเตอร์ประจำห้องปฏิบัติการ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ศูนย์ข้อมูล Data Center และสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
  2. การพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน การบูรณาการโครงข่าย MOENet และ NEdNet ให้เป็นโครงข่ายเดียว โดยใช้ชื่อว่า OBEC-NET เพื่อเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัย โดยเชื่อมต่อกับโรงเรียนต่างๆ กับศูนย์ข้อมูลของ สพฐ. OBEC Data Center
  3. การพัฒนาเนื้อหาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Contents) เพื่อพัฒนาไปสู่รูปแบบสื่อออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และรูปแบบ Applications และ e-Book
ภายใต้บริบทที่กล่าวมาข้างต้น ประเทศไทยต้องมีการพัฒนาด้านต่างๆ ตามไปด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป การจัดการศึกษาต้องมีการพัฒนาตามไปด้วย ซึ่งมีแนวทางในระดับนโยบายที่ควรส่งเสริมและเปิดมุมมองของการพัฒนาครู[8] เช่น
  • ในอดีต การพัฒนาครูยังมีทิศทางที่ไม่ค่อยชัดเจน และไม่ค่อยให้ความสำคัญอย่างจริงจัง ดังนั้น หากจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อเด็กแล้ว ควรจะมีการกำหนดนโยบายเพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาครูให้ตรงจุด เพื่อสนองตอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
  • ควรมีการกำหนดหน่วยงานการพัฒนาครูอย่างทั่วถึงทุกพื้นที่อย่างชัดเจนไม่ใช่กำหนดอยู่ในอำนาจการพัฒนาครูไว้ที่ส่วนกลางอย่างเดียว
  • ควรมีการกำหนดมาตรฐานอาชีพครู โดยเฉพาะความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน มาตรฐานการปฏิบัติงานของครู ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้สามารถใช้เป็นเกณฑ์วัดความเป็นครูและเป็นเครื่องมือตรวจสอบกลั่นกรองผู้ประกอบอาชีพครูและผู้ที่จะมาประกอบอาชีพครูได้อย่างชัดเจนและมีคุณภาพ
  • ควรมีการพัฒนาระบบการผลิตครูออกสู่ตลาดการศึกษาทั้งหลักสูตรตามการเปลี่ยนแปลงไปของสังคมโลก
จากปัจจัยของการเรียนรู้ และความรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปดังได้กล่าวมาแล้ว จึงทำให้ครูหรืออาจารย์ต้องปรับตัวในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ได้ผลผลิต ทั้งในด้านความรู้ที่จะถ่ายทอด และ ผู้เรียนที่มีคุณภาพ[9] โดยมีแนวทางเบื้องต้น ดังนี้
  1. ควรมีการถ่ายทอดความรู้ตามแนวคิดของการเรียนรู้สมัยใหม่ ที่ผู้เรียนมีอิสระในการรับรู้ และสร้างศักยภาพให้ผู้เรียนรู้จักหาความรู้ด้วยตนเอง และชี้นำการเรียนรู้ในลักษณะของผู้ให้คำปรึกษา (Mentor) และพัฒนาวิธีวิทยาในการสอน ให้เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
  2. ควรมีการอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ได้แบบไม่มีขีดจำกัดว่าต้องเรียนเฉพาะในห้องเรียน หรือต้องเรียนจากครูเท่านั้น
  3. ควรสร้างผู้เรียนให้รู้จักคิดวิเคราะห์ อย่างมีเหตุมีผล มีจิตวิจัย ใช้ข้อมูลเพื่อการแก้ปัญหาหรือเพื่อพัฒนา
  4. ควรมีการพัฒนาตนเอง โดยการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รู้จักเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับผู้อื่น และยึดมั่นในหลักบูรณาการความรู้แบบสหวิทยาการ
แต่หากไม่ใช่เพีย
  1. Jump u

สาระสำคัญ
สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมนุษย์มีทั้งสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีความสำคัญและคุณประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก เมื่อใดที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ และการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์
สี่งแวดล้อม คือ สิ่งต่างๆ ี่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งมีทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม (จับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (จับต้องไม่ได้และมองไม่เห็น)ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น
ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการ
ดำรงชีวิตได้ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า อากาศ แร่ธาตุ และพลังงาน
สมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม
สมบัติ หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ในตัว ซึ่งมีศักย์ในการแสดงออกในสิ่งนั้นๆ การฝืนศักย์ของสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ย่อมก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เสมอไม่มากก็น้อย ดังนั้นการที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมยั่งยืน (Sustainable environment) จำเป็นต้องเข้าใจถึงสมบัติของสิ่งแวดล้อมนั้นเสมอ ซึ่งมี 7 ประการ ดังนี้
1. มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการที่จะแสดงว่ามันคืออะไร เช่น ป่าไม้ ดิน น้ำ สัตว์ เป็นต้น การเปลี่ยนเอกลักษณ์จะไม่เกิดขึ้นในมหภาค (macroscale) แต่อาจเปลี่ยนในจุลภาค (microscale)
2. ไม่อยู่โดดเดี่ยว สิ่งแวดล้อมจะต้องมีสิ่งแวดล้อมอื่นด้วยเสมอ เช่น ปลากับน้ำ ต้นไม้กับดิน เป็นต้น
3. มีความต้องการสิ่งแวดล้อมอื่นเสมอ สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีความต้องการสิ่งแวดล้อมอื่นเสมอเพื่อ
ความอยู่รอดและรักษาสถานภาพตนเอง เช่น ปลาต้องการน้ำ มนุษย์ต้องการที่อยู่อาศัย เป็นต้น
4. อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม/ระบบนิเวศ ซึ่งภายในระบบจะมีองค์ประกอบและหน้าที่เฉพาะของมันเอง
5. มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันเป็นลูกโซ่ ดังนั้นเมื่อทำลายสิ่งแวดล้อมหนึ่งก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เป็นลูกโซ่เสมอ เช่น การทำลายป่าไม้ ก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน เกิดอุทกภัย เป็นต้น
6. สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีลักษณะความทนทานและความเปราะบางต่อการถูกกระทบแตกต่างกัน
7. สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบถาวรหรือชั่วคราวก็ได้
จากสมบัติของสิ่งแวดล้อมทั้ง 7 ข้อ นี้ทำให้ทราบดีว่าถ้าหากมีการทำลายหรือใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมมากเกินไป ก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ตามมาเสมอหรือที่เรียกว่ามลพิษสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางดิน มลพิษทางเสียง มลพิษจากขยะและของเสีย เป็นต้น
ประเภทของสิ่งแวดล้อม
จากความหมายของสิ่งแวดล้อมดังกล่าวสามารถแบ่งสิ่งแวดล้อมได้เป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural environment) และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Mode Environment)

1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ( Natural Environment)

แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต) และสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
1. 1สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) แบ่งได้ดังนี้
- บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึงอากาศที่ห่อหุ้มโลก ประกอบด้วย กา๙ชนิดต่างๆ เช่น โอโซน ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นละออง และไอน้ำ
- อุทกภาค (Hydrosphere) หมายถึงส่วนที่เป็นน้ำทั้งหมดของพื้นผิวโลก ได้แก่ มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ
- ธรณีภาค หรือ เปลือกโลก(Lithosphere) หมายถึง ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งห่อหุ้มอยู่รอบนอกสุด ของโลกประกอบด้วยหินและดิน
1.2 สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment)ได้แก่ พืช สัตว์ และมนุษย์

2 . สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น(Man-Mode Environment)

แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
- สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม (Concrete Environment) ได้แก่ บ้านเรือน ถนน สนามบิน เขื่อน โรงงาน วัด
- สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Abstract Environment) ได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา กฎหมายระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เป็นต้น
มิติของสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบพื้นฐานทางของมิติสิ่งแวดล้อมแบ่งได้เป็น 4 มิติ ดังนี้
1) มิติทรัพยากร
ทรัพยากร แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
ก. ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเอง หรือมีอยู่เองตามธรรมชาติ และให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไดแก่ ป่าไม้ น้ำ ดิน ทุ่งหญ้า แบ่งเป็น3 กลุ่ม คือ
- ทรัพยากรที่ใช้ไม่หมด เช่น น้ำ อากาศ
- ทรัพยากรที่ทดแทนได้ เป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถทดแทนได้โดยต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว เช่น น้ำใช้ ดิน ป่าไม้
- ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป เป็นทรัพยากรที่เมื่อมีการใช้แล้วหมดไปไม่สามารถทดแทนได้ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน แร่
ข. ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
- ทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เป็นทรัพยากรชีวภาพที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง การสื่อสาร ประปา การใช้ที่ดิน
- ทรัพยากรคุณภาพชีวิต หรือทรัพยากรสังคม เป็นทรัพยากรที่ทำให้คุณภาพชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น ได้แก่ การสาธารณสุข การศึกษา เศรษฐกิจ ศาสนา/ศาสนาสถาน นันทนาการ ฯลฯ

2) มิติเทคโนโลยี
เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้สร้างเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการแปรรูป ป้องกัน หรือปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เป็นการมุ่งเน้นการให้ความรู้และการสร้างเทคโนโลยีในการนำไปสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการบำบัด/กำจัดของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการนำกลับมาใช้ใหม่
เทคโนโลยีมี 3 รูปแบบคือ
1. เครื่องจักรกล เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สร้างพลังงานและให้งานเกิดขึ้น ได้แก่
- เครื่องจักรกลธรรมชาติ เช่น การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำ พืชริมตลิ่งช่วยลดการพังทลายของดิน 
- เครื่องจักรกลชาวบ้าน เช่น ครก รถไถนา การผันน้ำ
- เครื่องยนต์ เช่น เทคโนโลยีการคมนาคม การถลุงแร่
- เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์
2. แบบผลิตภัณฑ์ เป็นเทคโนโลยีที่สามารถใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาสภาพเศรษฐกิจ สังคม สามารถซื้อขายได้ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
- แบบหล่อ เช่น หลอดไฟ แบบขนมปัง
- แบบทาบ เช่น รูปแบบเสื้อผ้า
- แบบพิมพ์ เช่น แบบพิมพ์หนังสือ แบบพิมพ์ภาพ
- แบบโครงสร้างเหมือน เช่น แบบบ้าน แบบสินค้า
3) มิติของเสียและมลพิษ
ของเสีย หมายถึง ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสาร หรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ รวมทั้งการตกตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่อยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ
มลพิษสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาวะแวดล้อมที่มีมลสาร ที่เป็นพิษจนมีผลต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์
ของเสียและมลพิษ สามารถแบ่งได้ ดังนี้คือ
1. ของเสียและมลพิษที่เป็นของแข็ง เกิดจากเศษเหลือใช้ หรือกากของเสีย เช่น ขยะมูลฝอย กากสารพิษ
2. ของเสียและมลพิษที่เป็นของเหลว เป็นสารพิษที่อยู่ในสถานะของเหลว เช่น น้ำมัน จะเคลือบผิวน้ำทำให้พืชน้ำไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
3. ของเสียและมลพิษที่เป็นก๊าซ มีผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิต เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ไอระเหย
4. ของเสียและมลพิษที่มีสมบัติทางฟิสิกส์ ส่วนใหญ่จะสัมผัสได้โดยตรง เช่น เสียง รบกวน กัมมันตรังสี UV
5. มลพิษทางสังคม เป็นมลพิษที่ก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรง โดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่ เช่น ปัญหาการเพิ่มประชากร ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด
4) มิติมนุษย์
มิติมนุษย์เป็นมิติที่มีความสำคัญมากในการที่จะก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรซึ่งก่อให้เกิดของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อมตามมา มิติมนุษย์ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ประชากร การเปลี่ยนแปลงประชากรส่งผลต่อการใช้ทรัพยากร
2. การศึกษา จะแสดงถึงคุณภาพประชากรในการที่จะช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3. การอนามัย/สาธารณสุข มนุษย์ถ้ามีสุขภาพอนามัยดี ก็จะมีศักยภาพในการที่จะทำหน้าที่ในสังคม จึงเป็นตัวควบคุมทรัพยากรทั้งทางตรงและทางอ้อม
4. เศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ อาชีพ เงินออม แผนการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม
(ดูข้อมูลโปรด คลิกที่นี่)


วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปัญหาของวัยรุ่น

                                   
1การต่อต้านผู้ใหญ่ไม่เชื่่อฟังในสิ่งที่ผู้ปกครองบอกส่วนใหญ่จะเชื่อเพื่อนและไปตามเพื่อน
2ปัญหาทางด้านการเรียนการใช้สมองสติปัญญาในการเรียนจะลดน้อยลงเนื่องจากเด็กวัยรุ่นบา
งคนเที่ยวกลางคืนและไม่มีเวลาสำหรับพักผ่อน
3การมีรักในวัยเรียนบางคนมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาเช่นการทำแท้ง การติดโรคจากการมีเพศสัมพันธ์โรคเอดส์
4ปัญหาการติดยาเสพติด การใช้ยาเสพติดเป็นเรื่องของความอยากลองตามเพื่อน
5.วัยรุ่นกับเกมปัญหาเกี่ยวกับการติดเล่นเกมมากเกินไปจนมาสนใจทบทวนบทเรียนทำการบ้านอ่านหนังสือ
6ปัญหาของวัยรุ่นเรี่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเพราะเห็นว่าเป็นปัญหาที่สังคมไทยกำลังเผชิญและต้องรับมีอกับผลกระทบมากมาจึงเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข อย่างเร่งด่วนปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวไกลแต่คนในสังคมกับไม่ยกระดับของตนเองให้สูงเหมือนกับเทคโนโลยีทำให้มีเทคโนโลยีมาใช้ในทางที่ผิดๆโดยไม่ คำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรมแต่กับนำมาสร้างผลประโยชน์ให้กับตนเองเช่นการทำสื่อลามกอนาารการเผยแพร่รูปลามก างๆเป็น นการกระทำดังกล่าวเป็นการเปิดช่องทางให้เด็กแำละเยาวชนรับข้อมูลที่ผิดและไม่เกิดประโยชน์ทำให้มองว่าการแสดงออกทางเพศและการมีเพศสัมพันธ์
7หนีออกจากบ้านส่วนสำคัญมาจากพ่อแม่ผู้ปกครองเลี้ยงลูกเเบบประคบประหงมไม่กล้าดุว่ากลัวลูกโกรธแ่ต่เมื่อโดนดุและตำนิลูกก็โมโห ฉุนเฉียว โกรธและทำการประชดประชันด้วยการหนีออกจากบ้าน
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม โปรดคลิกที่นี่)


วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

 1   อินเทอร์เน็ตนับเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ครอบคลุมพื้นที่กว้างที่สุด และมีอัตราการขยายตัวเร็วที่สุด ตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตได้พัฒนาศักยภาพขึ้นมาอย่างรวดเร็ว กระทั่งถึงปัจจุบัน มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งหลังที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดทั้งเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก

2 ผลกระทบของอินเตอร์เน็ต
 
ผู้ใช้งานอินทรอเน็ตติดต่อกันเป็นเวลานานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาโรค ติดต่ออินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง มีอาการที่ต้องสงสัย เช่น มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตต่อเนื่อง เป็นเวลานานมากขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกหงุดหงิด หดหู่ กระวนกระวายเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้คิดว่าเมื่อได้ใช้อิน เทอร์เน็ตแล้วจะทำให้รู้สึกดีขึ้น แต่โดยความเป็นจริงแล้วการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานก่อให้เกิดผลเสียต่อ ร่างกาย

- ด้านบวก เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีขึ้นช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงานทำให้มนุษย์มีเวลาอ่านข่าวมากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงภัยกับงานที่มีอันตรายมีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ทำให้ติดต่อถึงกันได้สะดวกมีระบบคมนาคมขนส่งที่รวดเร็ว สามารถใช้โทรศัพท์ในขณะเดินทางไปมายังที่ต่างๆ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ลิฟต์ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศมีเครื่องช่วยให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น วิทยุ โทรทัศน์มีรายการให้เลือกชมได้มากมายมีการแพร่กระจาย สัญญาณโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียมทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้ข่าวสารต่างๆจากทั่วทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็วเหมือนอยู่ในเหตุการณ์
 - ด้านลบ
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการก่อให้เกิดอาชญากรรมได้โจรผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนการปล้นวางแผน การโจรกรรมมีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสารมีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลขบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์การลอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิด ปัญหาหลายอย่าง เช่นการแก้ไขระดับคะแนนของนักศึกษาการแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลคนไข้ผิดซึ่งเป็น การทำร้ายหรือฆาตรกรรมดังที่เห็นในภาพยนตร์ 
 
  3 โปรเเกรม search Engine  บนอินเตอร์เน็ต search engine เป็นชุดโปรแกรมประสานงานที่รวม
         - spider (เรียกว่า "crawler" หรือ "bot") ที่ไปทุกเพจหรือเพจตัวแทนบนทุกเว็บไซต์ที่ต้องการหาและอ่าน ด้วยการใช้การเชื่อมโยง hypertext บนแต่ละเพจเพื่อค้นหาและอ่านเพจอื่นของไซต์
         - โปรแกรมที่สร้างดัชนีขนาดใหญ่ (บางครั้งเรียกว่า "catalog") จากเพจที่อ่านเข้ามา
         - โปรแกรมที่รับคำขอค้นหา เปรียบเทียบกับรายการนั้นในดัชนี และส่งออกผลลัพธ์กลับมา